การกำจัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ

แนวคิดเรื่องการบำบัดน้ำเสียอีกชนิดหนึ่งที่ได้ผลอยู่เสมอ คือ เมื่อน้ำเกิดการเน่าเสีย หรือมีสารอื่นๆ เจอปนอยู่ในเป็นจำนวนมากจะทำให้ออกซิเจนภายในน้ำนั้นลดลง นั่นหมายถึงว่าน้ำเน่าเสียต่างๆ อันเกิดจากกระบวนการทางอุตสาหกรรม บ้านเรือน หรืออื่นๆ ก็ตามแต่นั้น มักจะมีค่าออกซิเจนอยู่น้อยมาก หรือไม่มีเลยนั่นเอง ดังนั้นหากจะสามารถฟื้นฟูน้ำให้กลับมาเป็นน้ำที่สะอาดไม่เป็นอันตรายต่อ คน สัตว์ สิ่งแวดล้อมได้นั้น จึงต้องมีการเติมสารออกซิเจนเข้าไฟเพื่อฟื้นฟูน้ำที่เสียแล้วนั่นเอง ซึ่งการบำบัดน้ำที่เสียแล้วด้วยวิธีการแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL)นั้นสามารถที่จะตอบโจทย์ตรงนี้ได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้

1. บ่อเติมอากาศ(Aerated Lagoon หรือ AL) เป็นส่วนที่เรียกได้ว่าเป็นจุดสำคัญของกระบวนการปรับน้ำเสียด้วยการเติมอากาศ ส่วนมากนั้นบ่อแบบนี้มักจะมีความลึกประมาณ 2-6 เมตร โดยจะมีการติดตั้งทุ่นสำหรับเติมก๊าซออกซิเจนเข้าไป ซึ่งทุนชนิดนี้จะเป็นทุ่นชนิดพิเศษที่นอกจากจะช่วยเติมอากาศเข้าสู่น้ำได้แล้ว ยังสามารถทำให้ระบบการทำงานของจุลินทรีย์ประเภทต่างๆ ในบ่อนั้นเกิดการตกตะกอน พูดง่ายๆ ก็คือระหว่างการเติมอากาศเข้าไปนั้น จะเกิดแรงดันทำให้น้ำกระเพื่อม นั่นถือได้ว่าเป็นการเร่งการตกตะกอนนั่นเอง ทุ่นอัดอากาศนี้ควรติดตั้งให้ทั่วทั้งบ่อ

2. บ่อบ่มเพื่อปรับสภาพน้ำทิ้ง (Maturation Pond) เป็นบ่อที่รองรับน้ำเสียที่ผ่านการตกตะกอนมาระดับหนึ่งแล้วจากบ่อเติมอากาศ น้ำที่อยู่ภายในบ่อนี้จะมีการตกตะกอนกันอีกชั้นหนึ่ง และสภาพแวดล้อมของบ่อจะเป็นการปรับสภาพของน้ำ บ่อนี้จะไม่ลึกมากจนเกินไป (ประมาณ 1-1.5 เมตร) เพื่อที่ว่าจะให้แสงแดดได้ส่องผ่านลงมายังก้นบ่อได้อย่างถนัด เพื่อฆ่าแบคทีเรียต่างๆ

3. บ่อเติมสารคลอรีน ก่อนการปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดสู่แม่น้ำลำคลอง หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาตินั้น ควรเติมสารคลอรีนที่เป็นสารฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ก่อนด้วยทุกครั้ง บ่อนี้ถือว่าเป็นกระบวนการขั้นตอนสุดท้ายของวิธีบ่อเติมอากาศครับ

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างบ่อเติมอากาศนี้ ส่วนใหญ่ ก็จะเป็น เครื่องเติมอากาศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ออกซิเจนแก่น้ำเสีย เครื่องเติมอากาศแบ่งออกได้ 4 แบบใหญ่ ๆ คือ เครื่องเติมอากาศที่ผิวหน้า (Surface Aerator) เครื่องเติมอากาศเทอร์ไบน์ (Turbine Aerator) เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ (Submersible Aerator) และเครื่องเติมอากาศแบบหัวฉีด (Jet Aerator) ตัวอย่างของหน่วยงานที่ใช้งานบ่อเติมอากาศนั้น ได้แก่ เทศบาลนครหาดใหญ่ และเทศบาลเมืองอ่างทอง โดยหลังจากการตรวจสอบพบว่า น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดด้วยวิธีนี้นั้น เป็นน้ำที่สะอาด และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมใดๆ เลย