การท่องเที่ยวสีเขียว

ปัจจุบันนั้นธุรกิจท่องเที่ยว ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากการท่องเที่ยวนั้น นำมาซึ่งรายได้เข้าสู่ประเทศอย่างมหาศาล เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จึงถือได้ว่าธุรกิจการท่องเที่ยวนั้นเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศเราเป็นอย่างมาก แต่การท่องเที่ยวนั้นนำมาซึ่งเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะ มลพิษต่างๆ ด้วยเช่นเดียวกัน จึงได้มีการคิดค้นวิธีการท่องเที่ยวสีเขียว หรือเน้นที่สิ่งแวดล้อมกันขึ้น ซึ่งมีเนื้อหาใจความดังต่อไปนี้ครับ

1. Green Heart คือการเน้นที่ตัวของนักท่องเที่ยวเอง เป็นการรณรงค์หรือการปลูกฝังให้นักท่องเที่ยว เที่ยวกันอย่างมีจิตสำนึก ไม่สร้างภาระแก่สิ่งแวดล้อม เป็นต้นว่า การไม่ทิ้งขยะเอาไว้ตามที่ต่างๆ เป็นต้น

2. Green Logistic เป็นการปรับตัวให้เกิดการขนส่งที่ไม่ก่อมลภาวะ หรือก่อมลพิษให้กับการเดินทางมากเกินความจำเป็น เช่น เปลี่ยนจากการเดินทางในระยะสั้นๆ มาเป็นการเดินหรือปั่นจักรยาน แทนที่จะเป็นการนั่งรถยนต์ เป็นต้น
3. Green Destination เป็นการจัดรูปแบบของการเดินทางท่องเที่ยว ให้ลดการใช้ทรัพยากร และลดการเพิ่มมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมได้มากที่สุด เช่น การไม่แวะพักระหว่างทางบ่อย หรือการใช้เส้นทางที่ไม่อ้อมมากจนเกินไป

4. Green Community เป็นการจัดรูปแบบของสิ่งแวดล้อม โดยเน้นที่ตัวของชุมชนนั้นๆ เป็นหลัก โดยมีการพูดจาเสวนาเกี่ยวกับแนวทางของการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เช่น แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ควรจัดการประชุมกันเพื่อหาวิธีกำจัดขยะ ปลูกต้นไม้ และดูแลสภาพแวดล้อมรอบๆ สถานที่ท่องเที่ยวของพวกเขา รวมถึงชุมชนเองด้วย และนักท่องเที่ยวก็ควรที่จะหาโอกาสเข้าร่วมการประชุมด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางชองการอนุรักษ์ให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

5. Green Activity คือการเน้นท่องเที่ยว หรือกิจกรรมที่มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายป่า แต่เน้นที่การสร้างป่าแทน เช่น การจัดกิจกรรมปลูกป่าสามัคคี กิจกรรมเก็บขยะชายเลน เป็นต้น

6. Green Service เป็นการส่งเสริมหรือเน้นการสนับสนุนไปที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่สร้างมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม หรือใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ธุรกิจผลิตเครื่องจักสานที่เน้นใช้วัสดุจากธรรมชาติ การอุดหนุนร้านขายอาหารที่ไม่ใช้ถึงพลาสติก กล่องโฟม ช้อนพลาสติก เป็นต้น

7. Green Plus คือการส่งเสริมการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับความรู้ต่างๆ และความร่วมมือในการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม การนำเอาทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ ตลอดจนเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมประเภทอื่นๆ อีกด้วย

แม้ว่าปัจจุบันนั้น ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นั้น เพิ่งจะเริ่มบูมขึ้นมาแต่ก็พอจะมองเห็นสัญญาณที่ดีต่างๆ เช่น รัฐเองก็สนับสนุนเรื่องของสินค้าท้องถิ่น หัตถกรรมที่เน้นวัสดุธรรมชาติ หรือในหลายๆ ชุมชนก็หันมาให้ความสนใจการทำธุรกิจที่ใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมด้วยครับ